ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553

การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีเป้าหมายเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่ ต่อมา รัฐบาลใช้มาตรการทางทหารเข้ากดดันกลุ่มผู้ชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 2,100 คน จากนั้น อภิสิทธิ์ประกาศแผนปรองดอง ซึ่งผู้ชุมนุมมีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม การชุมนุมจึงดำเนินต่อไป และอภิสิทธิ์ก็ประกาศยกเลิกวันเลือกตั้งใหม่ตามแผนปรองดอง ก่อนจะใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม จนกระทั่ง แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2552 เนื่องจากผู้ชุมนุมมีข้อสงสัยว่ากองทัพไทยอยู่เบื้องหลังการยุบพรรคพลังประชาชน พร้อมทั้งจัดตั้งรัฐบาลผสม ที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ในปีต่อมา นปช. ประกาศจะเริ่มการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์จึงเพิ่มมาตรการรักษาความมั่นคงอย่างมาก รวมทั้งเข้มงวดกับการตรวจพิจารณาสื่อมวลชนและอินเทอร์เน็ต ตลอดจนสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุที่ดำเนินงานโดยกลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวไม่สามารถยับยั้งกลุ่มผู้ชุมนุมมิให้เดินทางเข้ามายังกรุงเทพมหานครได้

ผู้ชุมนุมส่วนมากเดินทางมาจากต่างจังหวัด แต่ก็มีชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่งเข้าร่วมการชุมนุมเช่นกัน การชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม สื่อต่างประเทศรายงานว่าเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย โดยในช่วงแรก การชุมนุมเกิดขึ้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศบนถนนราชดำเนินและเป็นไปโดยสงบ กลุ่มผู้ชุมนุมใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การเดินขบวนรอบกรุงเทพมหานคร การรวบรวมเลือดไปเทที่หน้าประตูทำเนียบรัฐบาล หน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และหน้าบ้านพักอภิสิทธิ์เพื่อกดดันรัฐบาล จากนั้นมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมสองครั้ง ได้ข้อสรุปว่าจะมีการยุบสภา แต่ไม่สามารถสรุปวันเวลาได้ โดยทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุม มีการยิงลูกระเบิดชนิดเอ็ม-79 หลายสิบครั้ง แต่ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำมาลงโทษได้แม้แต่คนเดียว ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน กลุ่มผู้ชุมนุมปิดการจราจรที่แยกราชประสงค์ รวมทั้งสร้างแนวป้องกันในบริเวณโดยรอบ วันที่ 8 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่าห้าคนขึ้นไป และในวันที่ 10 เมษายน กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 24 ศพ มีช่างภาพชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตรวมอยู่ด้วย 1 คน และทหารเสียชีวิต 5 นาย ตลอดจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 800 คน สื่อไทยเรียกการสลายการชุมนุมดังกล่าวว่า "เมษาโหด" วันที่ 14 เมษายน แกนนำประกาศรวมที่ชุมนุมไปยังแยกราชประสงค์เพียงแห่งเดียว วันที่ 22 เมษายน เหตุปาระเบิดมือทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 86 คน กลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อหาตัวผู้ลงมือ แต่หาไม่พบ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ในภายหลังชี้ว่าโรงพยาบาลอาจเป็นแหล่งของผู้ลงมือ แต่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำแต่อย่างใด เมื่อวันที่ 28 เมษายน ระหว่างที่ผู้ชุมนุมจากแยกราชประสงค์ กำลังเดินทางไปให้กำลังใจกลุ่มผู้ชุมนุมที่ตลาดไท ย่านรังสิต ชานกรุงเทพมหานคร แต่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตั้งแนวขวางกั้น กลางถนนวิภาวดีรังสิต จนเกิดการปะทะกัน โดยมีทหารเสียชีวิต 1 นาย ในเหตุการณ์นี้

อภิสิทธิ์เสนอแนวทางปรองดอง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งเสนอให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่อภิสิทธิ์ก็ยกเลิกข้อเสนอดังกล่าวไปเอง หลังจากที่แกนนำ นปช. ยื่นข้อเรียกร้องให้รองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ เข้ามอบตัวกับตำรวจ แม้จะมีท่าทียอมรับในระยะแรกก็ตาม ต่อมา รัฐบาลสั่งการให้กำลังทหารเข้าล้อมพื้นที่แยกราชประสงค์ ด้วยกำลังรถหุ้มเกราะและพลซุ่มยิง ในระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 41 ศพ และบาดเจ็บกว่า 250 คน ซึ่งกองทัพอ้างว่า พลเรือนถูกยิงโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายหรือไม่ก็ถูกยิงเพราะติดอาวุธ หรือถูกผู้ก่อการร้ายยิง และชี้ว่าผู้ก่อการร้ายบางคนแต่งกายในชุดทหาร ทหารเสียชีวิตนายหนึ่งเพราะถูกพวกเดียวกันยิง สื่อไทยเรียกการสลายการชุมนุมดังกล่าวว่า "พฤษภาอำมหิต" กองทัพได้ประกาศ "เขตใช้กระสุนจริง" โดยทุกคนที่พบเห็นในเขตดังกล่าวจะถูกยิง และเจ้าหน้าที่แพทย์ถูกห้ามไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ จนวันที่ 19 พฤษภาคม กำลังทหารเข้ายึดพื้นที่เป็นครั้งสุดท้าย จนถึงแยกราชประสงค์ จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีก แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุม และยอมมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นผลให้ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ จากนั้น เกิดการก่อจลาจลและวางเพลิงสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ ในช่วงค่ำ รัฐบาลประกาศห้ามออกจากเคหสถานในหลายจังหวัด และให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องนำเสนอรายการของรัฐบาลเท่านั้น โดยทหารได้รับคำสั่งให้ใช้อาวุธปืนยิง ผู้ที่ทำการปล้นสะดม วางเพลิง หรือก่อความไม่สงบได้ทันที ผู้ชุมนุมจำนวน 51 คนยังคงหายสาบสูญจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน รัฐบาลอ้างว่าการประท้วงดังกล่าวจะต้องใช้เงินทุนถึง 150,000 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบ 3 พรรคการเมือง ซึ่งพรรคพลังประชาชนเป็นหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นอันต้องยุติลง อีกทั้งศาลยังตัดสินให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

การรายงานจากสื่อมวลชนบางแห่งว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้สนับสนุน หรือบีบบังคับ ให้ ส.ส.จำนวนหนึ่ง มาสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ โดย ส.ส.เหล่านั้น เป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา ที่นำโดย สนั่น ขจรประศาสน์, พรรคภูมิใจไทย และกลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนบางส่วน สนับสนุนให้นายอภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และชนะการลงมติให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคู่แข่ง จึงทำให้พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา ต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน

วันที่ 8 มีนาคม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ยืนยันว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะเข้าร่วมการชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 14 มีนาคมนี้ อย่างแน่นอน โดยยึดหลักประชาธิปไตย ไม่สร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง โดยชุมนุมครั้งนี้ยึดหลักสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง และได้วางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุม

วันที่ 11 มีนาคม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง พร้อมด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสนาธิการทหารบก พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 และ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมกองอำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ ที่กองบัญชาการกองทัพบก

โดยได้นำชุดควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งชายและหญิง ชุดสายตรวจ ชุดสายตรวจ ชุดปฏิบัติการพิเศษ หรือหน่วยสวาท ชุดจู่โจมเคลื่อนที่เร็ว หรือชุดปะ ฉะ ดะ เพื่อให้ประชาชนรับทราบเจ้าหน้าที่ของตำรวจที่จะปฏิบัติหน้าที่ในช่วงประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ระหว่างวันที่ 11-23 มีนาคม พ.ศ. 2553

นายสุเทพ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ประกาศเป็นพื้นที่ความมั่นคง ซึ่งทุกคนไม่พกพาอาวุธ นอกจากอุปกรณ์ป้องกันตัว แต่จะมีเพียงชุดสายตรวจ ชุดปฏิบัติการพิเศษหรือหน่วยสวาท ชุดจู่โจมเคลื่อนที่เร็ว หรือชุด ปะ ฉะ ดะ ที่จะมีอาวุธติดตัว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ โดยจะมีเครื่องหมายเลขชัดเจน

ทั้งนี้ ชุดแรกที่เข้าควบคุมฝูงชนที่เป็นผู้หญิงก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้หญิงและไม่มีอาวุธ ส่วนชุดควบคุมฝูงชนผู้ชายมีเพียงโล่ และกระบอง หากมีบุคคลอื่นแอบอ้างหรือแต่งเครื่องแบบทหาร นอกเหนือจากนี้จะจับดำเนินคดี สำหรับการถวายอารักขาที่บริเวณรอบโรงพยาบาลศิริราช จะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บัญชาการทหารเรือ และจะมีทหารเรือและทหารบกแต่งเครื่องแบบรักษาความสงบเรียบร้อย โดยใช้กำลังทั้งสิ้น 5 กองร้อย

เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 โดยเวทีตั้งอยู่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และชุมนุมตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางไปจนถึงลานพระราชวังดุสิต และในวันที่ 14 เมษายน ได้ยุบเวทีไปรวมกันที่แยกราชประสงค์ และเปิดเส้นทางจราจร เนื่องจากทางแกนนำไม่ต้องการให้เกิดการปะทะ และเป็นการคืนพื้นที่ให้ตามที่รัฐบาลเรียกร้อง

วันที่ 27 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเคลื่อนไปยังแยกราชประสงค์ ย่านการค้าที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร เพื่อเลียนแบบการชุมนุมใหญ่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2549 วันที่ 3 เมษายน มีการเคลื่อนขบวนมาปักหลักบริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งเต็มไปด้วยผู้ชุมนุมจำนวนมาก กระจายกันอยู่เต็มผิวจราจร ตั้งแต่แยกประตูน้ำ ด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ต่อเนื่องไปจนถึงถนนราชดำริ โดยพิธีกรบนเวทีแจ้งว่า คืนนี้จะปักหลักชุมนุมข้ามคืน ที่แยกราชประสงค์

วันที่ 16 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมเจาะเลือดคนละ 10 ซีซี เพื่อนำไปเทยังสถานที่ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00 น. ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเคลื่อนออกจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมไปถึงทำเนียบรัฐบาล และเทเลือดบริเวณประตูของทำเนียบตั้งแต่ประตูที่ 2 ถึง 8 ต่อมาเวลา 18.45 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมาถึงที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และเข้าไปเทเลือดที่บริเวณหน้าบันไดทางขึ้นของที่ทำการพรรค ส่วนเลือดที่เหลืออีก 10 แกลลอนนั้นได้เทลงยังบริเวณด้านหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เสร็จสิ้นแล้วจึงเคลื่อนขบวนกลับไปยังสะพานผ่านฟ้าลีลาศตามเดิม

วันที่ 17 มีนาคม ช่วงเช้า เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 11.50 น. ทางกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเคลื่อนขบวนเพื่อไปเทเลือดบริเวณหน้าบ้านพักของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ซอยสุขุมวิท 31 โดยมี พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 เป็นผู้คุมสถานการณ์ กลุ่มผู้ชุมนุมนำโดยอริสมันต์ พงษ์เรืองรองได้ฝ่าวงล้อมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ บุกไปถึงหน้าบ้านพักนายกรัฐมนตรี พร้อมเทเลือดกองบนพื้นถนนท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ผศ.จารุพรรณ กุลดิลก กล่าวสนับสนุนการเทเลือดในรายการพิเศษ "ฝ่าวิกฤตการเมือง ตอบคำถามคนของอนาคต" สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ซึ่งออกอากาศในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 16.00 - 17.00 น. ตอนหนึ่งว่า "เลือดเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ที่มีมาแต่สมัยบรรพบุรุษ การเสียเลือดเสียเนื้อเป็นสิ่งที่สะเทือนใจ เพื่อไม่ให้บาดเจ็บล้มตายกันจริง ๆ เราก็ใช้สัญลักษณ์นี้เป็นตัวแทนการสละเลือดเพื่อชาติ"

ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ Christian Sciene Monitor ของสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับ 10 การประท้วงสุดพิสดาร ปรากฏว่า การเทเลือดของกลุ่ม นปช. ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ของการประท้วงสุดพิสดาร

วันที่ 20 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมจัดขบวนรถจำนวนมาก โดยเคลื่อนขบวนไปรอบกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสายสำคัญต่าง ๆ โดยทางแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงอ้างว่าตลอดทางมีประชาชนมาร่วมให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น. จนกระทั่งสิ้นสุดเมื่อเวลา 18.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ประเมินตัวเลขจำนวนผู้ชุมนุมในวันนี้ไม่น้อยกว่า 100,000 คน รถจักรยานยน ประมาณ 10,000 คัน และรถยนต์ประมาณ 7,000 คัน

วันที่ 25 มีนาคม สุภรณ์ อัตถาวงศ์ พร้อมแกนนำคนอื่น อาทิ วันชนะ เกิดดี, เจ๋ง ดอกจิก รวมทั้งผู้ชุมนุมทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กที่สมัครใจได้ทำการโกนศีรษะเพื่อประท้วงนายกรัฐมนตรีและขับไล่รัฐบาล รวมทั้งทำพิธีสาปแช่งนายกรัฐมนตรี โดยมีอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงโกนผมให้สุพร ขณะที่พระสงฆ์ประมาณ 15 รูป โกนผมให้แก่ผู้ชุมนุม บนเวทีหลักสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

วันที่ 27 มีนาคม คนเสื้อแดงได้เคลื่อนขบวนไปกดดันทหารให้ถอนกำลังกลับกรมกองตามจุดต่าง ๆ เอเอฟพีระบุว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 80,000 คน

วันที่ 12 เมษายน เวลา 10.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนแห่ศพผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมออกจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยขบวนประกอบด้วยรถยนต์บรรทุกโลงศพจำนวนทั้งสิ้น 17 คัน พร้อมด้วยขบวนรถจักรยานยนต์และผู้ชุมนุมที่เดินเท้าตาม ซึ่งผู้ชุมนุมได้นำธงชาติไทยมาคลุมโลงศพพร้อมรูปผู้เสียชีวิต

วันที่ 21 เมษายน กลุ่มคนเสื้อแดงรวมตัวชุมนุมบริเวณสถานีรถไฟขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อสกัดไม่ให้ขบวนรถไฟลำเลียงทหาร อาวุธและยานพาหนะกว่า 20 โบกี้ออกจากสถานี เนื่องจากเกรงทหารจะเข้าร่วมสลายการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553 ดวงแข อรรณนพพร เรืองเดช สุวรรณฝ่าย ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำในการตรวจค้นรถยนต์และปิดถนนมิตรภาพ

เมื่อวันที่ 25 เมษายน ความเคลื่อนไหวในรูปแบบ "ขอนแก่นโมเดล" ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยที่จังหวัดอุดรธานี วิเชียร ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ได้เป็นแกนนำคนเสื้อแดงมาตั้งด่านสกัดเจ้าหน้าที่ตำรวจถึง 3 จุด โดยเฉพาะที่อำเภอโนนสะอาด โดยอ้างว่าเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่วิทยุชมรมคนรักอุดรก็ได้ประกาศเชิญชวนให้มาสกัดการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ พร้อมให้เรียกระดมพลให้เข้าร่วมชุมนุมที่ราชประสงค์ ที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ก็มีการตั้งด่านของคนเสื้อแดงเช่นกัน โดยได้ตั้งด่านมาตั้งแต่คืนวันที่ 24 เมษายน นอกจากการตั้งด่านสกัดเจ้าหน้าที่แล้ว บรรดาคนเสื้อแดงยังได้มีการปล่อยลมยางรถทหารและรถตำรวจที่จะมีการเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมหานครด้วย โดยพบว่าส่วนใหญ่แล้วกลุ่มผู้ชุมนุมมีน้อยกว่าเจ้าหน้าที่

วันที่ 24 เมษายน เวลา 18.00 น. วีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. กล่าวบนเวทีปราศรัยว่าจะมีการปรับยุทธวิธีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยังยึดแนวทางที่สันติวิธี

ณัฐวุฒิกล่าวอีกว่ามาตรการทั้งหมดนี้ เป็นมาตรการที่เตรียมไว้รับมือกับอภิสิทธิ์ เชื่อว่าภายใน 48 ชั่วโมงนี้ (24-26 เมษายน) อภิสิทธิ์ได้เตรียมการที่จะสลายการชุมนุม พร้อมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มคนเสื้อแดงทั่วประเทศเดินทางเข้ามาชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ เพื่อแสดงความไม่ต้องการรัฐบาลอำมาตย์

วันที่ 8 เมษายน หลังจากที่สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปแจ้งให้ไทยคมระงับการแพร่สัญญาณภาพและเสียงของดี-สเตชัน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักชุมนุมอยู่ที่บริเวณสถานีไทยคม ที่ตั้งอยู่ถนนรัตนาธิเบศร์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และสถานีไทยคม ซึ่งตั้งอยู่ถนนสายลาดหลุมแก้ว-วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อเรียกร้องให้ยุติการระงับการเผยแพร่สัญญาณ

วันที่ 9 เมษายน กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังสถานีไทยคม เพื่อเรียกร้องให้ยุติการระงับการเผยแพร่สัญญาณการออกอากาศของดี-สเตชันโดยได้มีการนำกองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในสถานีและกองทัพต้องถอนกำลังออกไป หลังจากที่มีการยืนยันว่าทางดี-สเตชันจะมีการออกอากาศอย่างแน่นอน กลุ่มผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนขบวนกลับไปยังที่ตั้ง ทว่าหลังจากนั้นได้มีการระงับการออกอากาศอีกครั้งหลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่

วันที่ 10 เมษายน รัฐบาลได้นำกองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยในเวลาประมาณ 13.00 น. เจ้าหน้าที่ได้ฉีดน้ำออกจากกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 และพยายามปิดประตู พร้อมขึงรั้วลวดหนาม นอกจากนี้มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้แก๊สน้ำตายิงด้วย

หลังจากนั้นจนถึงเวลาประมาณ 21.00 น. มีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง ระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในบริเวณต่าง ๆ ใกล้กับที่ชุมนุม เช่น ถนนดินสอ ช่วงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนตะนาว ช่วงแยกคอกวัว ฝั่งเชื่อมต่อถนนข้าวสาร โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 1,427 ราย สื่อต่างประเทศรายงานว่าการสลายการชุมนุมดังกล่าวเป็นความรุนแรงทางการเมืองครั้งเลวร้ายที่สุดในกรุงเทพมหานครในรอบ 18 ปี

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 16 เมษายน เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยอรินทราช บุกเข้าปิดล้อมโรงแรมเอสซีปาร์ค เพื่อพยายามจับแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม ประกอบด้วยอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, สุภรณ์ อัตถาวงศ์, พายัพ ปั้นเกตุ, ยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก และวันชนะ เกิดดี โดยอริสมันต์ได้โรยตัวออกทางระเบียง โดยมีกลุ่มผู้ชุมนุมกว่า 2,000 รายคอยให้ความช่วยเหลือ[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นนายอริสมันต์นำกลุ่มคนเสื้อแดงไปล้อมเจ้าหน้าที่อีกชั้น และชิงตัวแกนนำคนอื่น ๆ ออกมาได้ในที่สุด ซึ่งปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ครั้งนี้ทำให้ทางโรงแรมได้รับความเสียหายบางส่วน ขณะที่การจราจรโดยรอบต้องปิดไปโดยปริยาย

เมื่อคืนวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 ได้เกิดเหตุระเบิด 5 ครั้งบริเวณถนนสีลม โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ระหว่างที่กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. รวมตัวการชุมนุมอยู่แยกศาลาแดงฝั่งถนนสีลม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของตำรวจ โดยเสียงระเบิดดังขึ้น 3 ครั้ง ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง เสียงระเบิดทำให้ประชาชนที่อยู่บนสถานีและกลุ่มต่อต้าน นปช. เกิดความโกลาหล ระเบิดลูกที่ 4 ได้ระเบิดขึ้นบริเวณหน้าโรงแรมดุสิตธานี ใต้ทางเดินลอยฟ้าเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (สกายวอล์ก) ต่อมา เวลา 20.45 น. ระเบิดลูกที่ 5 ก็ระเบิดขึ้นที่หน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาศาลาแดง

เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผู้บาดเจ็บทั้งหมด 87 คน สาหัส 3 คน โดยผู้บาดเจ็บถูกส่งไปรักษาตัวตามโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยรอบบริเวณการชุมนุม มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 3 คน ส่วนตัวสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดงนั้นได้รับความเสียหายบริเวณหลังคา และตัวรถไฟฟ้าได้รับความเสียหายบริเวณคอมเพรสเซอร์สำหรับระบบปรับอากาศ ทำให้ระบบปรับอากาศภายในตัวรถไฟฟ้าไม่ทำงาน

วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553 เมื่อเวลา 09.30 น. ขวัญชัย ไพรพนา แกนนำ นปช. ประกาศจะเคลื่อนขบวนไปยังตลาดไท เพื่อให้กำลังใจกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมนุมอยู่ ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้มาถึงฐานทัพอากาศดอนเมือง ก่อนจะมุ่งหน้าต่อไปยังอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ทางกลุ่มได้หยุดเจรจากับเจ้าหน้าที่ที่ตั้งด่านสกัดอยู่ แต่ไม่เป็นผล เจ้าหน้าที่ได้ยิงกระสุนยางใส่จนกลุ่มผู้ชุมนุมถอยกลับมา[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมา จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงยอดผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์บริเวณหน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติว่า จากรายงานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเบื้องต้น พบมีผู้บาดเจ็บ 16 ราย ในจำนวนนี้ 10 ราย ส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีสาหัส 1 ราย บาดเจ็บที่ช่องทองต้องเข้ารับผ่าตัด และอีก 3 ราย เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ซึ่งก็มีสาหัส 1 รายที่ต้องผ่าตัดเช่นกัน เนื่องจากถูกยิงที่หน้าอก

สำนักข่าวต่างประเทศ เช่น ซีเอ็นเอ็นและบีบีซี รายงานเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและกลุ่มผู้ชุมนุม ที่บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ โดยอ้างว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์เอราวัณเปิดเผยมีจำนวนผู้ชุมนุมบาดเจ็บอย่างน้อย 16 รายระหว่างการปะทะกัน ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 1 ราย จากกระสุนปืนของทหารด้วยกัน

เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 พายัพ ปั้นเกตุ แกนนำ นปช. กล่าวว่าตนได้ไปตรวจสอบภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อ้างว่าภายในตึกโรงพยาบาลมีกำลังทหารพร้อมอาวุธสงครามและปืนซุ่มยิงอยู่ครบมือ หากไม่ถอนกำลังทหารออกไปให้หมดภายในคืนนี้ ตนพร้อมจะนำสื่อมวลชนและกลุ่มคนเสื้อแดงไปตรวจสอบที่โรงพยาบาลทันทีเพื่อไปขอพื้นที่โรงพยาบาลคืนให้กับประชาชน[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งในพื้นที่สวนลุมพินี มีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 7 กองร้อยและในถนนสีลม ไม่ว่าจะเป็นตึกซีพี หรือธนาคารกรุงเทพ สาขาสีลมก็มีกำลังทหารจำนวนมาก[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งภายหลังได้มีการยืนยันออกมาว่า ไม่ได้มีกำลังทหารตามที่ได้ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง]

เวลา 19.00 น. พายัพและกลุ่มคนเสื้อแดงเดินทางไปถึงโรงพยาบาล เพื่อขอตรวจสอบตึกในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม พายัพได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะให้การ์ดเดินแถวเรียงหนึ่งตรวจตึก แต่เมื่อเจ้าหน้าที่อนุญาตให้เข้าไป การ์ดเสื้อแดงกลุ่มใหญ่ได้กระจายเข้าค้นทั่วโรงพยาบาล[ต้องการอ้างอิง]

ด้านแกนนำ นปช. หลายคน เช่น เหวง โตจิราการ, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แถลงขอโทษเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนทางด้านพายัพ ปั้นเกตุ อ้างว่า จากการสังเกตการณ์หลายวัน พบว่ามีการเคลื่อนไหวของทหารในโรงพยาบาลจริง จึงต้องการเรียกร้องโรงพยาบาล และบริษัทเอกชนที่มีอาคารสูงรอบพื้นที่การชุมนุม อย่าให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้พื้นที่หรือให้ที่พักพิง

ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม มติแกนนำ นปช.เปิดสองฝั่งให้รถสามารถกลับรถหน้าโรงพยาบาลได้ พร้อมทั้งรื้อบังเกอร์เกาะกลางถนนในตอนบ่าย แต่ไม่ได้ถอยกลับไปที่แยกสารสินแต่อย่างใด

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม เวลา 22.45 น. บริเวณแยกศาลาแดง เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนกราดยิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยืนเฝ้าที่หน้าธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย อาคารซูลิก เฮ้าส์ ถนนสีลม ทำให้กระจกหน้าธนาคารกรุงไทย ใกล้ตู้เอทีเอ็ม แตก 1 บาน มีรอยร้าว มีรูกระสุน 1 รู มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย[ต้องการอ้างอิง] ทั้งหมดถูกนำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจคาดว่าคนร้ายน่าจะขับขี่รถจักรยานยนต์ออกมาจากสีลม และคนซ้อนท้ายได้ใช้ปืนกราดยิง จากถนนฝั่งตรงข้าม บริเวณร้านแมคโดนัลด์ ก่อนจะขับรถหนีออกไปถนนพระรามที่ 4[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ตาม รายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รายงานว่า มือปืนได้ยิงกราดเข้ามาใส่บริเวณกลางจุดการชุมนุมของชาวสีลม ซึ่งมีประมาณ 20-30 คน ห่างจากร้านกาแฟโอบองแปงประมาณ 10 เมตร[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อเวลาประมาณ 01.25 น. สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 รายงานว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บรวม 6 ราย ทั้งนี้ แกนนำ นปช. ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อเวลา 01.30 น. ได้เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณทางเข้าสวนลุมพินี ประตู 4 ถนนพระรามที่ 4 ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นด่านตรวจของตำรวจและทหาร จำนวน 3 ครั้ง เบื้องต้นคาดว่าเป็นชนิดเอ็ม 79 เบื้องต้นมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เบื้องจากการตรวจสอบวิถีกระสุนในเบื้องต้น คนร้ายน่าจะยิงวิถีโค้ง ข้ามสะพานลอย น่าจะเป็นการยิงมาจากทางด้านแยกศาลาแดง[ต้องการอ้างอิง] เมื่อเวลา 05.00 น. พบเจ้าหน้าที่ 1 นายเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว

ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 รัฐบาลได้ส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม และรถหุ้มเกราะ เข้าปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ บริเวณแยกราชประสงค์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม ทั้งสิ้น 56 ศพ ในบรรดาผู้เสียชีวิตมีชาวต่างประเทศรวมอยู่สองศพและเจ้าหน้าที่กู้ชีพอีกสองศพ ได้รับบาดเจ็บ 480 คน และจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน กลุ่มผู้ชุมนุมยังสูญหายอีกกว่า 51 คน หลังแกนนำผู้ชุมนุมเข้ามอบตัวกับตำรวจเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ได้เกิดเหตุเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้ง เซ็นทรัลเวิลด์ สื่อต่างประเทศบางแห่ง ขนานนามการสลายการชุมนุมดังกล่าวว่า "สมรภูมิกรุงเทพมหานคร"

นปช. บางส่วนที่นิยมความรุนแรง (แดงฮาร์ดคอร์) ไม่พอใจที่เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมได้เผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ศาลากลางมุกดาหาร และเผาธนาคารกรุงเทพ ศาลพิพากษาจำคุกแล้ว

ในระหว่างการชุมนุม เกิดการเข้าใช้กำลังอาวุธกับผู้ชุมนุมโดยกองทัพสามครั้ง จนมีผู้เสียชีวิตนับร้อยคน บาดเจ็บนับพันคน ดังนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงกลายเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้สั่งการให้ใช้กำลังอาวุธสงคราม เข้าสลายการชุมนุมทางการเมือง จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย นับตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา โดยมีข้อมูลปรากฏดังนี้

ในเหตุการณ์นี้มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 28 ราย ในจำนวนนี้ เป็นชายไทยไม่ทราบชื่อ จำนวน 4 ราย และระบุชื่อได้จำนวน 23 ราย ทหารเสียชีวิต 5 ราย และชาวต่างประเทศเสียชีวิตอีก 1 ราย

ในเหตุการณ์นี้มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 90 ราย ในจำนวนนี้ เป็นชายไทยไม่ทราบชื่อ จำนวน 4 ราย เป็นหญิงไทยไม่ทราบชื่อ จำนวน 1 ราย ระบุชื่อได้ จำนวน 48 ราย ทหารเสียชีวิต 3 ราย และชาวต่างประเทศเสียชีวิต 2 ราย

ในวันที่ 15 เมษายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวว่า หลังการชุมนุมผ่านมา 3 วันทุกอย่างเรียบร้อยปกติ ซึ่งผู้ชุมนุมมีการยื่นเวลาให้ตนยุบสภาภายใน 24 ชั่วโมง ตนได้เชิญหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลและผู้แทนพรรคร่วมรัฐบาลมาหารือซึ่งเห็นร่วมกันว่าไม่ควรมีการยุบสภา

การย้ายมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่ออกมาตรการบังคับให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ถนนราชดำริ โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนฟังได้ว่าการกระทำของแกนนำทั้ง 5 และผู้ร่วมชุมนุมเป็นการปิดกั้นกีดขวางเส้นทางคมนาคมและการใช้ยานพาหนะของประชาชนทั่วไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสำคัญ รวมทั้งเกิดความเดือดร้อนประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตของประชาชน จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพการเดินทางของประชาชนที่จะใช้เส้นทางสาธารณะและกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมที่เกินกว่าขอบเขตของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ม.34 และ 63 บัญญัติไว้ ดังนั้นเมื่อ ผอ.รมน.โดย ผอ.ศอ.รส. รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ได้อาศัยอำนาจตาม มาตรา 18 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ออกข้อกำหนดและข้อประกาศห้ามแกนนำทั้งห้าและผู้ชุมนุมทั้งหมดออกจากพื้นที่ที่ชุมนุมแล้ว ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวจึงมีสภาพบังคับอยู่ในตัว และเมื่อมีประกาศใช้แล้วย่อมมีผลบังคับได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมาร้องขอให้ศาลออกคำบังคับตามข้อกำหนดดังกล่าวอีก ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง

ในวันที่ 14 มีนาคม นายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่ากองทัพต้องวางบทบาทอยู่บนหลักความถูกต้อง ยึดถือความยุติธรรม เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ สหภาพฯออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ไม่ให้นำกองกำลังทหารหลายกองร้อยออกปฏิบัติการเพื่อควบคุมฝูงชน เพราะจะเป็นการสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน และหากมีการใช้กำลังสลายการชุมนุมด้วยวิธีรุนแรง สหภาพฯจะเข้าร่วมต่อสู้กับประชาชนทันที

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน เมื่อวันที่ 9 เมษายน ว่าองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนออกแถลงการณ์ประณามการปิดกั้นสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีเพิลแชนแนลและเว็บไซต์ 36 เว็บไซต์ของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยระบุว่าการปิดกั้นสื่อมวลชนที่ทั้งเป็นกลางและสื่อที่มีความเห็นไปในทางเดียวกับฝ่ายค้าน ทำให้อาจเกิดความรุนแรงได้ เมื่อวันที่ 11 เมษายน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่างๆ โดยนายสมชาย กล่าวว่าขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะหลีกเลี่ยงไม่ได้

วันที่ 12 เมษายน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการปะทะกันของเจ้าหน้าที่ทหารและกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบมีคนเดียว คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นบุคคลที่ขาดสำนึกความเป็นผู้นำ ปฏิเสธที่จะเข้าใจถึงปัญหาของคนในชาติ ตนไม่เคยพบเห็นการใช้กำลังติดอาวุธเข้าปราบปรามประชาชน ไม่เคยเห็นความรุนแรง และกระทำอย่างขาดความสำนึกเช่นนี้

ในวันเดียวกันเวลา 19.30 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่าขอให้กลุ่มคนเสื้อแดงเดินหน้าต่อสู้กันต่อไป วันนี้ถือว่าได้ประชาธิปไตยมาแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เต็มที่ทั้งหมด แต่ก็ถือว่าเป็นการต่อสู้ที่ประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง เหลือเพียงไม่นานก็จะประสบความสำเร็จ เพื่อประเทศชาติ เพื่อคนรุ่นหลังต่อไป

เมื่อเวลา 14.20 น. นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แจกจ่ายแถลงการณ์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลงวันที่ 14 พฤษภาคมไปยังสื่อมวลชนแขนงต่างๆ โดยเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการดังต่อไปนี้

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยโดย น.ส.สุญญาตา เมี้ยนละม้าย โฆษกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์ประณามการปราบปรามประชาชนด้วยอาวุธสงคราม และสนับสนุนข้อเรียกร้อง การลุกขึ้นสู้และป้องกันตนเองของคนเสื้อแดงในทุกรูปแบบ โดยได้มีข้อเรียกร้องดังนี้

ทั้งนี้ ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการโยนความผิดของการสูญเสียนี้ให้เป็นของคนเสื้อแดง เพราะว่าการตัดสินใจชุมนุมเรียกร้องภายใต้เงื่อนไขใหม่ของคนเสื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของแกนนำหรือมวลชนเอง ไม่ว่าจะมีฝ่ายใดมองว่าขัดต่อแนวทางปรองดองหรือไม่ถูกใจใครหลายคนแค่ไหนก็ ตาม ย่อมไม่ควรเป็นเหตุผลแห่งการเข่นฆ่าได้ และสนับสนุนการลุกขึ้นต่อสู้ตอบโต้และป้องกันตัวจากการถูกสังหารหมู่ในทุก รูปแบบ เพื่อพิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ชุมนุม มิให้ต้องถูกสังหารทำลายล้างโดยกองกำลังทหารอย่างป่าเถื่อน และขอสนับสนุนข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงที่ต้องการให้มีการยุบสภาและนำตัว ผู้สั่งการสังหารหมู่ประชาชนมาสู่การลงโทษต่อไป

ในวันที่ 9 มีนาคม นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้อ่านแถลงการณ์ของพันธมิตรฯ ฉบับที่ 4/2553 ว่ารัฐบาลจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่กับผู้ชุมนุม เพื่อป้องปรามความรุนแรงทุกรูปแบบ โดยระบุว่ากลุ่มพันธมิตรฯจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆในช่วงเวลาดังกล่าว

ในวันที่ 23 มีนาคม นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการกลุ่มสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ให้ชาวกรุงเทพมหานครรวมตัวกันเพื่อต่อต้านความรุนแรง รวมทั้งให้อยู่ในที่ตั้งเพื่อเฝ้าระวังเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการชุมนุมของคนเสื้อแดง

กลุ่มพี่น้องมหิดลออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ นปช. ยุติให้ผู้ชุมนุมเจาะเลือดแม้ผู้ให้จะเต็มใจก็ตาม เนื่องจากเห็นว่าการนำเอาเลือดออกจากร่างกาย มีไว้เพื่อการตรวจวินิจฉัย เพื่อการรักษา หรือการบริจาคเท่านั้น มิสามารถกระทำเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดได้ รวมทั้งมองว่าระดับแกนนำย่อมมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลผู้เข้าร่วมชุมนุมให้เกิดความปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดีอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรเลือกวิธีที่เสี่ยงติดเชื้อ การอ่อนเพลียจากการสูญเสียเลือดและอากาศร้อนอบอ้าว

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน อันประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ออกแถลงการณ์ขอให้กลุ่มคนเสื้อแดง คืนพื้นที่แยกราชประสงค์ที่ปักหลักชุมนุมมาตั้งแต่วันเสาร์ที่ 3 เมษายน 2553 โดยให้กลับไปชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยที่ประชุม กกร. มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะการชุมนุมดังกล่าวสร้างความเสียหายทำมาหากินในทุกระดับ ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ไปจนถึงร้านค้าย่อย รวมทั้ง นักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ และแม้ นปช.จะมีสิทธิในการชุมนุมเพื่อแสดงออกภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ควรจะละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งข้อเรียกร้องต่างๆ ของกลุ่มผู้ชุมนุมควรมีความชัดเจนและจริงใจต่อกันเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง

ที่ประชุมสมาพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย ได้แสดงจุดยืนเรียกร้องให้รัฐบาลและกลุ่ม นปช. ร่วมกันหาทางออกเพื่อยุติความขัดแย้งและการชุมนุมโดยเร็ว หลังอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับความเสียหายแล้วกว่า 1 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการรวมพลังของผู้ประกอบการในที่ต่างๆ เช่น จ.เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ สมุย พัทยา โดยใช้ข้อความว่า "ยุติความขัดแย้งเพื่อท่องเที่ยวไทย ทุกฝ่ายหยุดทำร้ายท่องเที่ยวไทย สมานฉันท์เพื่อท่องเที่ยวไทย" พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังเรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายดูแลการชุมนุมอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วและปราศจากความรุนแรง เพราะถ้าการชุมนุมยังยืดเยื้อจะกระทบความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่นที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาเที่ยวเทศกาลสงกรานต์ โดยสำนักข่าวอัลจาซีร่า รายงานข่าวว่า การประท้วงของคนเสื้อแดงกำลังสร้างความไม่พอใจให้กับชาวกรุงเทพจำนวนมาก จนเกิดการชุมนุมของคนเสื้อชมพูมากกว่า 1,000 คน ที่สวนลุมพินี เพื่อระบุว่าพวกเสื้อแดงไร้เหตุผล นับเป็นครั้งแรกจากการบุกเข้ามาประท้วงในกรุงเทพฯ ของเสื้อแดงที่มีคนกลุ่มใหญ่ออกมาต่อต้าน เพื่อให้แน่ใจว่ารัฐบาลไทยที่มีกองทัพหนุนหลังจะไม่รีบร้อนยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ซึ่งอาจเปิดทางให้ผู้สนับสนุนของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรรีบขึ้นมาชิงอำนาจคืน

16 เมษายน พ.ศ. 2553 นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำผู้ประสานงานกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ และกลุ่มเฟสบุ๊คต้านยุบสภา เดินทางมาให้กำลังใจการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร ที่บริเวณด้านหน้า กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

18 เมษายน พ.ศ. 2553 กลุ่มคนเสื้อหลากสี อันประกอบด้วย เครือข่ายประชาชนพิทักษ์ชาติ และเครือข่ายเฟซบุ๊ก เดินทางมารวมตัวกันที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้รัฐบาลทำหน้าที่ พร้อมทั้งคัดค้านการยุบสภา และแสดงออกไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง

21 เมษายน พ.ศ. 2553 พนักงานบริษัทย่านสีลม ได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อ เครือข่ายประชาคมชาวสีลม ออกมาชุมนุมในช่วงเวลาพักเที่ยงต่อต้านการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง พร้อมทั้งมอบอาหารและน้ำให้กับทหารและตำรวจที่มาดูแลรักษาความปลอดภัย

สหรัฐอเมริกา โดยนายไมค์ โทเนอร์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา อ่านแถลงการณ์เพื่อสนับสนุนกระบวนการเจรจาเพื่อหาทางออกในวิกฤตการเมืองไทยระหว่างผู้นำฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายเสื้อแดง และสนับสนุนการแสดงตามสิทธิในการเดินขบวนตามท้องถนนแต่ก็ได้เรียกร้องให้แกนนำฝ่ายเสื้อแดงสาบานก่อนว่าจะหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงใด ๆ ด้วย ภายหลังจากเหตุการบุกรุกรัฐสภาของกลุ่มคนเสื้อแดง รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประณามกลุ่มผู้ประท้วง โดย นายฟิลิป โครว์ลีย์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อ่านแถลงการณ์ระบุว่า สหรัฐฯ เคารพการแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพ แต่การเข้าไปยังอาคารราชการ เป็นวิถีทางที่ไม่เหมาะสมสำหรับการประท้วงซึ่งทุกคนมีสิทธิในการชุมนุมและการประท้วงอย่างสงบ ซึ่งสหรัฐฯ หวังว่าความเห็นที่แตกต่างกันจะสามารถแก้ไขได้ด้วยสถาบันประชาธิปไตยและไม่ใช้ความรุนแรง

นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่า วิพากษ์วิจารณ์วิกฤตการเมืองไทยว่ารัฐธรรมนูญที่ถูกเขียนโดยทหาร ทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ พร้อมวิจารณ์การรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ว่าเป็นการยึดอำนาจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ศูนย์สิทธิมนุษยชนเอเชียได้ส่งจดหมายเปิดผนึกให้แก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย เพื่อเตือนให้หยุดใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ มิเช่นนั้นแล้วนายอภิสิทธิ์จะตกเป็นผู้รับผิดชอบตามมาตรา 25 (a) ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ในการจงใจใช้กำลังจู่โจมผู้ชุมนุมที่เป็นประชาชนโดยตรง ซึ่งการใช้กำลังกับผู้ชุมนุม นปช. ที่ราชประสงค์นั้นถือเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อมาตราที่ 8 (e) (i) ของ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ นอกจากเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียกเลิกการใช้กำลังทหารปราบปรามผู้ชุมนุมแล้ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนเอเชียยังได้เสนอให้รัฐบาลไทยกลับมาใช้วิธีการเจรจากับผู้ชุมนุม เนื่องจากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ที่มีการสังหารผู้ชุมนุมเช่นวันที่ 10 เมษายน เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการแห่งหน่วยงานฮิวแมนไรท์วอช ประจำนครนิวยอร์ก ชี้ว่าการประกาศใช้เขตใช้กระสุนจริงของรัฐบาลไทย เพื่อใช้ต่อสู้กับกลุ่มผู้ประท้วงคนเสื้อแดง เป็นสิ่งที่ล่อแหลมอันตราย โดยประกาศเขตดังกล่าว ทำให้รัฐบาลไทยเสี่ยงที่จะเขยิบเข้าสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนของพลเรือน ซึ่งจะทำให้ทหารคิดอย่างตื้น ๆ ว่า เขตใช้อาวุธจริงก็คือเขตยิงกระสุนได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะเมื่อความรุนแรงขยายตัว ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตชุมชนชาวบ้าน และรัฐบาลไทยจะต้องตระหนักว่า มีประชาชนคนธรรมดาอาศัยอยู่ที่นี่ด้วย ไม่ใช่แต่เฉพาะผู้ประท้วงเท่านั้น

สำหรับเหตุการณ์นี้ สังคมออนไลน์ เช่น ทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก,แคมฟรอก,ซอฟแคช มีบทบาทอย่างมาก สำหรับการรายงานข่าวของเหตุการณ์ โดยมีการ follow นักข่าวที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุ[ต้องการอ้างอิง] ช่วยรายงานออนไลน์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น แบล็คเบอรี่, ไอโฟน, 3Gข่าวที่ได้ก็รวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆ และหลายข่าวมีผู้รายงานหลายคนให้เปรียบเทียบด้วย[ต้องการอ้างอิง]

จากการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่มีการรวมตัวเคลื่อนไหวปิดถนนในกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ประกาศหยุดให้บริการเดินรถประจำทางชั่วคราว 17 เส้นทาง และเดินรถผลัดเสริม 29 เส้นทาง จากจำนวนแส้นทางที่ให้บริการทั้งหมด 108 สายในกรุงเทพมหานคร โดยเส้นทางที่ได้รับผลกระทบ คือ ถนนพหลโยธิน (ขาเข้า) ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และถนนสาทรที่มุ่งเข้าสู่สีลม พร้อมทั้งแนะประชาชนเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทน หรือทำการสอบถามเส้นทางจากโทร. 184 ซึ่งพบว่าในช่วงที่มีการชุมนุม ยอดผู้ใช้บริการปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 13,000 สายต่อวัน จากปกติประมาณ 8,000 สายต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ขสมก.จะมีการประเมินสถานการณ์การชุมนุม ของกลุ่มนปช. และประชาสัมพันธ์เส้นทางผ่านสื่อมวลชนทุก 1 ชั่วโมง และยืนยันว่าสถานการณ์การชุมนุมในปัจจุบัน ขสมก.ยัง สามารถบริหารจัดการการเดินรถได้ และหากสถานการณ์คลี่คลายจะทำการเปิดเดินรถตามปกติทันที

ส่วนรถไฟฟ้า บีทีเอสนั้นต้องปิดการให้บริการประชาชนในบางสถานีระหว่างมีการชุมนุม เช่น สถานีสยาม สถานีราชดำริ และได้หยุดการให้บริการทั้งระบบในบางช่วงเวลา เนื่องจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ถ้ามีการขนทหารมาฆ่าประชาชนทางรถไฟฟ้าจะทำให้รถไฟตกรางเป็นเรื่องง่ายมากและเจ้าหน้าที่คนไหนที่ขับรถมาส่งทหารก็จะให้คนเสื้อแดงไปจับ ด้านรถไฟฟ้ามหานครได้ประกาศปิดประตูทางเข้าออกสถานีสีลมบริเวณสวนลุมพินีและหยุดการให้บริการในสถานีสีลมในบางช่วงเวลา และการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เลื่อนกำหนดการทดสอบระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2553 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยในการให้บริการและพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

การย้ายมาชุมนุมกันบริเวณแยกราชประสงค์เป็นผลให้ศูนย์การค้าบริเวณโดยรอบปิดให้บริการ โดยมีการประเมินว่าจะสร้างความเสียหายมากกว่า 1,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจค้าปลีกได้รับความเสียหายแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท โดยก่อนหน้ามีการชุมนุมคาดว่าธุรกิจค้าปลีกจะมียอดขยายตัวเพิ่มขึ้น 6-7 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อเกิดการชุมนุมของ นปช. ตัวเลขดังกล่าวคงจะลดลงเหลือเพียง 4-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ทางด้านการท่องเที่ยว พบว่า หลังจากการชุมนุจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวไทยได้ลดลง ซึ่งภายใน 1 เดือนที่มีการชุมนุมนี้รายได้ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวมหายไปแล้ว 10,000 ล้านบาท หากการชุมนุมยังยืดเยื้อต่อไปอีกหลายเดือนจะเสียหายกว่านี้อีกหลายหมื่นล้านบาท ด้านนายธนิต โสรัตน์ รักษาการรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุว่า ความเสียหายจากการชุมนุมและความรุนแรงจะทำให้การท่องเที่ยว การบริการ ร้านอาหารโรงแรมภัตตาคารร้านขายของที่ระลึกเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวตลอดจน ห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ชุมนุมเสียหายรวมกันกว่า 35,000 ล้านบาท

การเจาะเลือดซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่กลุ่ม นปช. ใช้ในการต่อต้านรัฐบาลส่งผลกระทบต่อด้านสาธารณสุข ซึ่งจากการเก็บตัวอย่างเลือดที่มีการเทไปยังสถานที่ต่างๆ ของกลุ่มผู้ชุมนุมมาตรวจที่ห้องแล็บของโรงพยาบาลรามาธิบดี วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล พบเชื้อไวรัสติดต่อร้ายแรง 3 ชนิด ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสเอชไอวี (เอดส์) อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ จึงอาจทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดย น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมของแพทยสภาเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ การจะเจาะเลือดจะต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ คงต้องพิจารณาอีกครั้งว่าเจาะเลือดเพื่ออะไรและนำไปใช้อย่างไรบ้าง ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือได้รับความเสียหายจากกการกระทำครั้งนี้ สามารถมาฟ้องร้องดำเนินคดีได้ คงต้องดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่เจาะเลือด รวมถึงผู้ที่เทและสาดเลือดเจาะเลือด

ส่วนการย้ายสถานที่ชุมนุมของกลุ่ม นปช. ไปยังบริเวณแยกราชประสงค์ยังส่งผลกระทบต่อผู้มารับบริการและผู้ป่วยของโรงพยาบาลตำรวจ โดยได้รับผลกระทบด้านการเดินทางมาโรงพยาบาลที่ไม่สะดวก การใช้เสียงของกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ โดยผู้ป่วยบางคนมีอาการอ่อนเพลียเพราะนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเข้ามาในโรงพยาบาลตำรวจ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180